เมนู

เพราะเป็นของรุ่งเรืองมากด้วยการกำหนดอาโลกะ - แสงสว่าง, ชื่อว่า
ทิพย์ แม้เพราะมีทางไปมาก ด้วยการเห็นรูปภายในฝาเรือนเป็นต้นได้.
คำทั้งหมดนั้น พึงทราบตามครรลองแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
เพราะอรรถว่าเห็น จึงชื่อว่า จักขุ, ญาณนั้นเหมือนกับจักขุ แม้
เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขุ, จักขุนั้นด้วยเป็นเพียงดังทิพย์ด้วย ฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทิพจักขุ, ทิพจักขุนั้นด้วย ญาณด้วย รวมกันเป็น ทิพ-
จักขุญาณ - ญาณในทิพจักขุ
.

55. อรรถกถา อาสวักขยญาณุทเทส


ว่าด้วย อาสวักขยญาณ


คำว่า จตุสฏฺฐิยา อากาเรหิ - ด้วยอาการ 64 ความว่า
ด้วยอาการแห่งอินทรีย์อย่างละ 8 ในมรรคผลหนึ่ง ๆ ทั้ง 8 ในมรรคผล
ละ 8 ละ 8 จึงรวมเป็น 64.
คำว่า ติณฺณนฺนํ อินฺทฺริยานํ - อินทรีย์ 3 ความว่า ใน
อินทรีย์ 3 เหล่านี้คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์, อัญญินทรีย์,
อัญญาตาวินทรีย์.
คำว่า วสิภาวตา ปญฺญา - ปัญญาคือความเป็นผู้มีความ
ชำนาญ
ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ,

ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ แห่งอัญญาตาวิน-
ทรีย์นั่นแหละด้วยอาการ 8 ด้วยสามารถแห่งอินทรีย์ 8 ในอรหัตผล
คำนี้พึงทราบว่าท่านกล่าวแล้ว เพราะความสำเร็จผลนั้นด้วยสามารถแห่ง
การสำเร็จเหตุ แม้เพราะความไม่มีในขณะแห่งอรหัตมรรค.
บทว่า อาสวานํ ขเย ญาณํ - ญาณในความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย
ความว่า อรหัตมรรคญาณอันกระทำความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายอันตนฆ่าเสียแล้ว.

56-59. อรรถกถาทุกขสมุทยนิโรธมรรคญาณุทเทส


ว่าด้วย ญาณในอริยสัจ


บัดนี้ เพื่อแสดงความตรัสรู้ด้วยญาณอันเดียวกัน แห่งมรรค
ญาณหนึ่ง ๆ บรรดามรรคญาณทั้ง 4 ด้วยการเกี่ยวเนื่องกับด้วยอรหัต-
มรรคญาณกล่าวคืออาสวักขยญาณ พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงได้
ยกญาณทั้ง 4 มีคำว่า ปริญฺญฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในอรรถว่ารู้รอบ
เป็นต้นขึ้นแสดง.
บรรดาสัจจะทั้ง 4 นั้น ทุกขสัจจะ ท่านกล่าวก่อน เพราะ
ทุกขสัจจะ เป็นของหยาบ, เพราะมีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งปวง. และเป็น
ของที่รู้ได้โดยง่าย, แล้วแสดงสมุทยสัจจะต่อจากทุกขสัจจะนั้น เพื่อ